มูลนิธิวัคซีนเพื่อประชาชน ร่วมกับ สถาบันวัคซีนแห่งชาติ กรมควบคุมโรค และ สสจ. นครพนม จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ Meet The Experts: ปกป้องกลุ่มเปราะบาง เสริมสร้างภูมิผู้สูงวัยให้ห่างไกลจากโควิด 19

Home   >   ข่าวสาร   >   ข่าวประชาสัมพันธ์   >   มูลนิธิวัคซีนเพื่อประชาชน ร่วมกับ สถาบันวัคซีนแห่งชาติ กรมควบคุมโรค และ สสจ. นครพนม จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ Meet The Experts: ปกป้องกลุ่มเปราะบาง เสริมสร้างภูมิผู้สูงวัยให้ห่างไกลจากโควิด 19

👁️ เข้าชม 0

     มูลนิธิวัคซีนเพื่อประชาชน ร่วมกับ สถาบันวัคซีนแห่งชาติ กรมควบคุมโรค สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครพนม และหน่วยงานเครือข่ายทั้งภาครัฐ และเอกชน จัดประชุมเชิงปฏิบัติการเพิ่มองค์รู้ด้านวัคซีนให้กับบุคลากรทางการแพทย์ ภายใต้กิจกรรมรณรงค์เพิ่มความครอบคลุมของการได้รับวัคซีนของประชาชนไทย Thailand immunization 2023 ต่อเนื่องเป็นวันที่สอง

     วันที่ 9 พฤษภาคม 2566 ที่ห้องประชุมร่มฉัตร สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครพนม นายแพทย์มานิต ธีระตันติกานนท์ ประธานมูลนิธิวัคซีนเพื่อประชาชน เป็นประธานการประชุมฯ พร้อมด้วย พญ.สุเนตร ชื่นกิจมงคล รองผู้อำนวยการสถาบันวัคซีนแห่งชาติ นายแพทย์ปรีดา วรหาญ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดนครพนม นายแพทย์กิตติเชษฐ์ ธีรกุลพงศ์เวช รักษาการนายแพทย์เชี่ยวชาญ (ด้านเวชกรรม ป้องกัน) และบุคลากรทางการแพทย์เข้าร่วม

     การประชุมเชิงปฏิบัติการในวันที่สองเป็นการประชุมในกิจกรรมส่งเสริมการปกป้องกลุ่มเปราะบาง เสริมสร้างภูมิผู้สูงวัยให้ห่างไกลโควิด 19 ซึ่งได้มีการรายงานสถานการณ์โควิด19 โดย พญ.สุเนตร ชื่นกิจมงคล รองผู้อำนวยการสถาบันวัคซีนแห่งชาติ

     ได้อัพเดตสถานการณ์ที่ผ่านมาของโควิด 19 ตั้งแต่แรกเริ่มจนถึงปัจจุบัน พร้อมอัพเดตข้อมูลประสิทธิภาพของวัคซีนเข็มกระตุ้นในการป้องกันสายพันธ์ต่าง ๆ ของโรคโควิด 19 จากข้อมูลระดับประเทศ โดย พญ.สุเนตรเน้นย้ำว่า วัคซีนชนิดไหนก็มีประสิทธิผลไม่ต่างกัน ขอให้ฉีดเพื่อป้องกันอาการหนัก และเสียชีวิต ซึ่งเข็มถัดไปสามารถรับได้ หากฉีดวัคซีนมานานเกินหกเดือนจากเข็มก่อนหน้า นอกจากนี้ ในผู้สูงอายุจะมีภูมิคุ้มกันในการป้องกันโรคต่ำกว่าคนอายุน้อย และมีระดับภูมิคุ้มกันลดลงเร็วกว่า วัคซีนเข็มกระตุ้นจึงมีความจำเป็นอย่างมาก

     ด้าน พล.อ.ท.นพ. อนุตตร จิตตินันท์ อดีตประธานราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย ได้แนะนำวิธีป้องกันโรคติดเชื้อโควิด 19 ดังนี้ 1.การป้องกันตัวเอง ใส่แมส ล้างมือบ่อยๆ รักษาระยะ 2. การฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้น และ 3. การเข้ารับ LAAB หรือภูมิคุ้มกันสำเร็จรูปออกฤทธิ์ยาว ซึ่งเหมาะกับผู้มีภูมิคุ้มกันต่ำ รวมถึงผู้ที่ได้รับยากดภูมิคุ้ม นอกจากนี้ พล.อ.ท.นพ. อนุตตร ยังได้กล่าวถึงข้อมูลการปรับแผนวัคซีนจากประเทศต่างๆ รวมถึงประเทศไทย ซึ่งประเทศไทยมีคำแนะนำให้ฉีดวัคซีนโควิด 19 ปีละ 1 เข็ม เช่นเดียวกับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ โดยมีระยะห่างจากเข็มสุดท้าย หรือประวัติการติดเชื้อครั้งสุดท้ายตั้งแต่ 3 เดือนขึ้นไป โดยไม่คำนึงว่าเป็นเข็มที่เท่าไร

     ด้านนายแพทย์เอนก มุ่งอ้อมกลาง ผู้อำนวยการสำนักงานป้องกันควบคุมโรค (สคร.) ที่ 4 จ.สระบุรี กล่าวถึงแนวทางเร่งรัดในการรับภูมิคุ้มสำเร็จรูปออกฤทธิ์ยาว หรือ LAAB ว่า สคร.สระบุรี ประสบความสำเร็จอย่างมากในการให้บริการฉีดแก่กลุ่มเสี่ยง โดยได้รับความร่วมมืออย่างดีจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ปัจจุบันได้ดำเนินการเชิงรุกในการผลักดันให้ประชาชนสามารถเข้าถึง LAAB ได้ รวมทั้งได้มีการเตรียมความพร้อมหน่วยบริการในพื้นที่ เพื่อให้บริการแก่ประชาชน

ที่มา: สถาบันวัคซีนแห่งชาติ

ขอบคุณภาพ: สสจ.นครพนม

วันที่ 9/05/66