บทบาทของ สวช.

บทบาทของ สวช. เป็นหน่วยงานที่ไม่แสวงหากำไรเป็นหลัก และมีวัตถุประสงค์ (ตามมาตรา 21) ดังต่อไปนี้

  1. ศึกษา วิเคราะห์ และจัดทำร่างนโยบายและแผนยุทธศาสตร์ความมั่นคงด้านวัคซีนแห่งชาติเพื่อเสนอต่อคณะกรรมการวัคซีนแห่งชาติ
  2. ส่งเสริม สนับสนุน หรือดำเนินการให้มีการวิจัย การพัฒนา การผลิต และการกระจายวัคซีนให้มีคุณภาพและมีปริมาณเพียงพอ สำหรับที่จะใช้ทั้งในสถานการณ์ปกติและในสถานการณ์ฉุกเฉิน
  3. บริหารจัดการเพื่อการบูรณาการและขับเคลื่อนการดำเนินการให้สัมฤทธิ์ผลตามนโยบายและแผนยุทธศาสตร์ความมั่นคงด้านวัคซีนแห่งชาติ
  4. สร้างเครือข่ายผู้เชี่ยวชาญด้านวัคซีน และประสานงานหรือร่วมมือกับหน่วยงานของรัฐ สถาบัน การศึกษา องค์กรระหว่างประเทศ หรือองค์กรเอกชนที่เกี่ยวข้องในการดำเนินการเกี่ยวกับวัคซีน
  5. เป็นศูนย์กลางการบริหารจัดการข้อมูลและความรู้เชิงบูรณาการ เพื่อประกอบการตัดสินใจเชิงนโยบาย เศรษฐกิจ และวิชาการเกี่ยวกับวัคซีน เพื่อให้บริการทางวิชาการ พัฒนาข้อมูลและสร้างองค์ความรู้ เทคโนโลยี และนวัตกรรมด้านวัคซีน
  6. ส่งเสริม สนับสนุน หรือดำเนินการให้มีการฝึกอบรมเพื่อการพัฒนาบุคลากรด้านวัคซีนของประเทศ

และมีหน้าที่และอำนาจ (ตามมาตรา 22) ดังต่อไปนี้

  1. จัดทำร่างนโยบายและแผนยุทธศาสตร์ความมั่นคงด้านวัคซีนแห่งชาติ และประสานงาน ติดตาม และประเมินผล เพื่อให้มีการปฏิบัติตามนโยบายและแผนยุทธศาสตร์ดังกล่าว รวมทั้งจัดทำรายงานความก้าวหน้าของการดำเนินการเสนอต่อคณะกรรมการ
  2. ส่งเสริม สนับสนุน หรือดำเนินการให้มีการวิจัย การพัฒนา การผลิต และการกระจายวัคซีน ให้มีคุณภาพและมีปริมาณเพียงพอสำหรับที่จะใช้ทั้งในสถานการณ์ปกติและในสถานการณ์ฉุกเฉิน และจัดให้มีทุนการวิจัยและทุนอุดหนุน เพื่อส่งเสริมหรือสนับสนุนให้มีการดำเนินการดังกล่าว
  3. บริหารจัดการความรู้ ข้อมูลข่าวสาร และจัดให้มีฐานข้อมูลเพื่อสนับสนุนการดำเนินการด้านวัคซีนของประเทศ
  4. สนับสนุนการเพิ่มสมรรถะในการเลือก การรับ และการถ่ายทอดวิทยาการและเทคโนโลยีจากต่างประเทศ ตลอดจนการจัดการโครงการลงทุนและโครงการพัฒนาที่เกี่ยวข้องกับการเลือก การรับและการถ่ายทอดวิทยาการและทคนโลยีจากต่างประทศ เพื่อให้ได้วิทยาการและเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพและเหมาะสม
  5. ส่งเสริม สนับสนุน หรือดำเนินการพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านวัคซีนของประเทศอย่างต่อเนื่อง ฝึกอบรม และจัดให้มีทุนการศึกษาสำหรับบุคลากรดังกล่าว
  6. ก่อตั้งสิทธิ ทำนิติกรรม ถือกรรมสิทธิ์ มีสิทธิครอบครอง มีสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและมีทรัพยสิทธิต่าง ๆ เพื่อประโยชน์ในการดำเนินกิจการของสถาบัน ตลอดจนรับเงินหรือทรัพย์สินที่มีผู้อุดหนุนหรืออุทิศให้
  7. ทำความตกลงและร่วมมือกับหน่วยงานของรัฐหรือหน่วยงานของเอกชนทั้งในประเทศและต่างประเทศในกิจการที่เกี่ยวกับการดำเนินการตามวัตถุประสงค์ของสถาบัน
  8. จัดตั้งนิติบุคคลหรือเข้าร่วมทุนกับนิติบุคคลอื่นในกิจการที่เกี่ยวกับวัตถุประสงค์ของสถาบัน
  9. กู้ยืมเงินหรือให้กู้ยืมเงินโดยมีหลักประกันด้วยบุคคลหรือทรัพย์ เพื่อประโยชน์ในการดำเนินการตามวัตถุประสงค์ของสถาบัน
  10. เรียกเก็บค่าธรรมเนียม ค่าบำรุง ค่าตอบแทน หรือค่าบริการในการดำเนินกิจการต่าง ๆ ตามวัตถุประสงค์ของสถาบัน ทั้งนี้ ตามระเบียบที่คณะกรรมการบริหารสถาบันกำหนด
  11. กระทำการอื่นใดที่จำเป็นหรือต่อเนื่องเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของสถาบัน หรือตามที่คณะรัฐมนตรี คณะกรรมการ คณะกรรมการบริหารสถาบัน หรือคณะอนุกรรมการมอบหมาย หรือตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นหน้าที่และอำนาจของสถาบัน