การสนับสนุนการวิจัยพัฒนาวัคซีนและชีววัตถุ ได้แก่ วัคซีนไข้หวัดใหญ่รองรับการระบาดโดยใช้เทคโนโลยีเซลล์เพาะเลี้ยง วัคซีนโควิต 19 ภายใต้แพลตฟอร์มเทคโนโลยีชนิตต่าง ๆ ไต้แก่ mRNA, Protein Subunit, Inactivated และการวิจัยพัฒนา Botulinum Antitoxin Type A และ Type B
สร้างความร่วมมือด้านวัคซีนภายในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนต่อเนื่องจากปี 2557 ภายใต้หัวข้อการจัดประชุมเรื่อง “Follow-up Workshop on Collaborative Models for the effective Communication and Coordination among ASEAN Countries for Regional Vaccine Security” โดยร่วมกันร่างแผนปฏิบัติการด้านการสื่อสารและการประสานงาน (draft of communication and coordination action plan) เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาความร่วมมือเพื่อความมั่นคงและการพึ่งตนเองด้านวัคซีนในภูมิภาคอาเซียน ทั้งนี้ สถาบันจะผลักดันให้ข้อริเริ่มเรื่องความมั่นคงและการพึ่งตนเองด้านวัคซีนในภูมิภาค (regional vaccine security and self-reliance; RVSSR) ได้รับการบรรจุอยู่ใน ASEAN Post-2015 Health Development Agenda โดยเข้าร่วมประชุมกับผู้กำหนดนโยบายด้านสุขภาพระดับสูงในเวทีต่าง ๆ ผ่านกลไกของอาเซียน (ASEAN mechanism) เพื่อนำเสนอผลการดำเนินงานต่อที่ประชุมได้พิจารณาดำเนินการต่อไป